ทัวร์อินเดีย สังเวชนียสถาน 4 ตำบล + อชันต้า เอลโลร่า 24ตค.- 4พย. 2567

ทัวร์สังเวชนียสถาน 4 ตำบล + อชันต้า เอลโลร่า 

24ตค.-4พย. 2567 (12วัน 11คืน)

โปรแกรมเดินทางข้ามรัฐแต่จัดแบบถนอมร่างกาย ไม่พาไปลำบาก   

ไม่นั่งรถไฟ บินภายใน มีเวลาต่อเครื่อง ไม่ต้องวิ่ง 

โซนสังเวชนียสถานพักโรงแรม3-4ดาว อาหารดี คุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวไทย

โซนอชันต้า พัก 4 ดาว

 1. สถานที่เยี่ยมชม : สังเวชนียสถาน 4 ตำบล+อชันต้า เอลโลร่า มุมไบ

  • สังเวชนียสถานแห่งที่ 1 สถานที่ตรัสรู้ : พุทธคยา
  • สังเวชนียสถานแห่งที่ 2 สถานที่แสดงปฐมเทศนา : สารนาถ
  • สังเวชนียสถานแห่งที่ 3 สถานที่ประสูติ : ลุมพินี 
  • สังเวชนียสถานแห่งที่ 4 สถานที่ปรินิพพาน : กุสินารา
  • ราชคฤห์ เมืองแรกที่พุทธศาสนาตั้งมั่น สถานที่ตั้งวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา วันเวฬุวันมหาวิหาร 
  • นาลันทา สถานที่ตั้งอดีตมหาวิทยาลัยนาลันทาที่เคยยิ่งใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตรและกราบสักการะหลวงพ่อองค์ดำ 
  • สาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล ที่ตั้งวัดเชตวันมหาวิหาร สถานที่ประทับนานที่สุด 25 พรรษา สถานที่เกิดพระสูตรมากมาย
  • ออรังกบาด สถานที่ตั้ง 2 ถ้ำ อชันต้าและเอลโลร่า

สถานที่ตามโปรแกรมสรุป (โปรแกรมเต็มดูด้านล่างค่ะ)

24 ตค. 67 : กรุงเทพ - นิวเดลี - ออรังกบาด (เดินทางตอนกลางวันถึงที่พักค่ำๆ) 

25 ตค. 67 : ถ้ำอชันต้าเต็มวัน ช่วงเย็นหากไม่เพลียออกมาเดินเล่น ช้อปปิ้งได้ค่ะ

26 ตค. 67 : ถ้ำเอลโลร่า - บีบีกามัคบารา มินิทัชมาฮาล     

27 ตค. 67 : ออรังกบาด -ปัตนะ- ไวสาลี (วัดป่ามหาวัน สถานที่วชภิกษุณีและเสาอโศก)   

28 ตค. 67 : ไวสาลี - กุสินารา (สถานที่ปรินิพพาน)                     

29 ตค. 67 : กุสินารา - ลุมพินี (สถานที่ประสูติ)                                            

30 ตค. 67 : ลุมพินี - สาวัตถี (วัดเชตวัน สถานที่ประทับนานที่สุด)

31 ตค. 67 : สาวัตถี - พาราณสี (สถานที่แสดงปฐมเทศนา) 

1  พย. 67 : พาราณสี  - พุทธคยา (สถานที่ตรัสรู้)  

2 พย. 67 : พุทธคยา เต็มวัน

3 พย. 67 : พุทธคยา ราชคฤห์ นาลันทา

4 พย. 67 : พุทธคยา - กรุงเทพ

2. การเดินทาง

เดินทางไปรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ที่ตั้งของถ้ำอชันต้า เอลโลร่า ก่อนแล้วค่อยบินภายในต่อไปรัฐพิหาร (Bihar) 2 รัฐนี้ห่างกัน 1,486กม. เดินทางด้วยรถยนต์ 25ชม.ค่ะ 

2.1 ขาไป  

2.2 ออรังกบาด - สังเวชนียสถาน 

Air India ไฟลท์ AI 400+AI 673 ถึงปัตนะบ่ายโมง

2.3 ขากลับ 

คยา - กรุงเทพ Thai Airways TG328 14.00-19.35

2.4 ภายในอินเดีย

ใช้รถบัสส่วนตัวตลอดเส้นทาง (ไม่ต้องเปลี่ยนรถ ของอะไรที่ใช้บนรถเช่นหมอน ผ้าห่ม ของฝากที่ยังไม่ได้แพ็คเอาไว้บนรถได้ ไม่ต้องเอาลงทุกวันค่ะ 

หมายเหตุเรื่องสนามบินและสายการบิน  ทำไมเลือกไฟลท์นี้ ?

ทุกครั้งที่ออกแบบโปรแกรม ฟ้าจะหาวิธีการเดินทางและไฟลท์ที่เวลาดีและถนอมร่างกายทุกคนเสมอ ฟ้าจะหลีกเลี่ยงการเดินทางตอนกลางคืนถึงเช้าแล้วเที่ยวต่อเลยเนื่องจากมันเหนื่อยมาก หรือไฟลท์ที่มีเวลาคอนเนคให้ไม่ถึง3ชม.เพราะมันลุ้นมาก ในการเดินทางข้ามรัฐเราต้องใช้ระบบสนามบินพร้อมกับประชากรพันล้านคน ซึ่งการบินภายในก็สบายกว่านั่งรถไฟอยู่แล้วค่ะ การเลือกไฟลท์บินกลางคืนหรือมีเวลาคอนเนคไม่ถึง 3 ชม. ถึงค่าทัวร์จะถูกลงแต่พอถึงเวลาเดินทางจริงๆเราก็จะทั้งเพลียทั้งลุ้นว่าจะวิ่งทันมั้ย ดังนั้นฟ้าจึงออกแบบการเดินทางที่เราเดินทางกันแบบไม่เหนื่อยมาก ได้พักผ่อนกันก่อนไปเที่ยว เข้าที่พักไม่ค่ำมากจะได้พักผ่อนให้เต็มที่ค่ะ ไม่มีการบินไฟลท์กลางคืนถึงเช้าเที่ยวเลย เพื่อประหยัดค่าโรงแรม อุตส่าห์เก็บเงิน จัดเวลาไปเที่ยว ไปไหว้พระ ไปแบบสบายๆกันดีกว่าค่ะ

สนามบินที่เลือกคือเลือกสนามบินจากเมืองใหญ่ = เปอร์เซ็นแคนเซิลต่ำกว่าสนามบินเล็ก และพยายามเลือกสายการบินเดียวกันก่อนเพราะระบบรันกระเป๋าจะเป็นระบบเดียวกัน ความเสี่ยงเรื่องกระเป๋าไม่มาต่ำลง และเลือกที่ต่อเครื่องภายในไม่นานมาก แต่มีเวลาพอให้เราได้ผ่านตม.+ security แบบไม่ต้องวิ่งลุ้นกันขาขวิดค่ะ
 

3. ที่พัก : โรงแรม 

  • พุทธคยา : วัดเนรัญชราวาส สร้างโดยหลวงพ่อถาวร จิตตวโร อดีตรองเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ดีกว่าหลายโรงแรมในพุทธคยา อาหารไทยดีมากค่ะ
  • กุสินารา : Hotel Om Residency
  • ไวสาลี : Hotel Blue Lotus
  • ลุมพินี : Hotel 5 elements
  • สาวัตถี : Hotel Sravasti Platinum
  • พาราณสี : Hotel Pinacle หรือ Hotel Meadows
  • ออรังกบาด : Hotel  7 apples

โรงแรมที่คัดเลือกมาเป็นโรงแรมที่คุ้นเคยกับการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เข้าใจทั้งวัฒนธรรมการกินของชาวต่างชาติเป็นอย่างดีและมารยาทสากล อาหารเป็นอาหารจีน ไทยและอินเดียผสมผสานกัน รสชาตมาตรฐาน ทานได้แน่นอนค่ะ ที่สำคัญพนักงานถูกเทรนด์เรื่องมารยาทสากลมาแล้วค่ะ

4. อาหาร  

เส้นทาง 4 สังเวชนียสถาน : ที่โรงแรมทานอาหารจีน ไทยและอินเดียผสมผสานกัน รสชาตมาตรฐาน ทานได้แน่นอนค่ะ ส่วนอาหารกลางวันเป็นข้าวกล่องแพ็คจากโรงแรมหรือวัดไทยบริเวณใกล้เคียง ที่วัด ทานอาหารไทยค่ะ

เส้นทางอชันต้า เอลโลร่า ออรังกบาด : ทานที่ร้านอาหารแถวๆถ้ำอชันต้าของการท่องเที่ยวอินเดีย และถ้ำเอลโลร่า โรงแรมไกรลาส อยู่ห่างจากถ้ำ 10 ก้าวค่ะ

5. ราคา 

 

หลายท่านสงสัยว่าทำไมราคาสูง+ใช้เวลาหลายวัน ฟ้าเลือกทุกอย่างเองค่ะ รถ ที่พัก ไกด์และตารางเข้าแต่ละสถานที่ไม่อัด เดินทางระหว่างวัน ถึงเมืองก็เข้าสถูปไปกราบมีเวลาก็ใช้เวลากันในนั้นนานๆ อุตส่าห์บินมาตั้งไกลเนอะ ไปสังเวชนียสถานฟ้าเชื่อว่าทุกคนตั้งใจไป ในเมื่อตั้งใจ อยากให้ไปทั้งที ไปดีๆให้สมความตั้งใจไปเลย ดีกว่ามานั่งเสียดายเงินค่ะ โรงแรมในโซนอชันต้าทัวร์ส่วนใหญ่จะใช้โรงแรมดีลที่อยู่ใกล้สนามบิน ค่าทัวร์จะถูกหน่อยแต่ไม่มีอะไรให้เดินค่ะ มุมไบรถติดมากถ้าเราพักไกล = มีเวลาเดินเล่นช้อปปิ้งน้อย ทั้งที่มีอะไรน่าดูเยอะในเมือง จึงเลือกพักย่านใจกลางแบบที่ช้อปปิ้ง กินข้าว เข้าพักในละแวกเดียวกันไปเลย ไปทัวร์แต่ได้บรรยากาศเหมือนไปเที่ยวเองค่ะ รับรอง

5.1 ราคารวม 

  • ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับและบินภายใน ไฟลท์ตามกำหนดการ
  • ค่ารถบัสที่ใช้ในการเดินทางในอินเดียทุกเมือง
  • ค่าที่พักทุกเมือง // ค่าอาหารทุกมื้อ
  • ค่าเข้าชมสถานที่ทุกเมือง (พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน วัดตามเมืองต่างๆ)
  • ค่าวีซ่า 2 ประเทศอินเดีย เนปาล 
  • ค่าประกันการเดินทางวงเงิน1,000,000 บาท กรณีเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง (ไม่รวมประกันความเสียหายของสิ่งของและประกันสุขภาพ) 

5.2 ราคาไม่รวม 

  • ค่าทิปเจ้าหน้าที่ทัวร์(คนขับรถ เด็กรถ ไกด์อินเดีย เจ้าหน้าที่ยกกระเป๋าของวัด) ตามความพึงพอใจ
  • ค่าน้ำหนักกระเป่าเดินทางโหลดใต้ท้องเครื่องที่เกินกว่าที่ระบุในกำหนดการ
  • ค่าทำพาสปอต ค่าเดินในประเทศไทยในวันเดินทางไปและกลับ
  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เช่น ค่าของฝาก เงินทำบุญ ค่าซิมโทรศัพท์
  • ค่าประกันทรัพย์สินเสียหายจากการเดินทาง 
วิหารไกรลาส ณ ถ้ำเอลโลร่า 
ทัวร์อินเดีย สังเวชนียสถาน+อชันต้า เอลโลร่า 24ตค.-3พย.2567
วิหารไกรลาส ณ ถ้ำเอลโลร่า 
ทัวร์อินเดีย สังเวชนียสถาน+อชันต้า เอลโลร่า 24ตค.-3พย.2567
วิหารไกรลาส ณ ถ้ำเอลโลร่า 
ทัวร์อินเดีย สังเวชนียสถาน+อชันต้า เอลโลร่า 24ตค.-3พย.2567
วิหารไกรลาส ณ ถ้ำเอลโลร่า 
ทัวร์อินเดีย สังเวชนียสถาน+อชันต้า เอลโลร่า 24ตค.-3พย.2567
วิหารไกรลาส ณ ถ้ำเอลโลร่า ทัวร์อินเดีย สังเวชนียสถาน+อชันต้า เอลโลร่า 24ตค.-3พย.2567

โปรแกรมทัวร์เต็ม

วันที่ 1 : 24 ตุลาคม 2567 : กรุงเทพ สุวรรณภูมิ - นิวเดลี - ออรังกบาด 

 

 4.00น.

 พบกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ Row J ประตู 4 สายการบินThai ไฟลท์ TG323 ออกเดินทางไปยังมหานครนิวเดลี ประเทศอินเดีย

ฟ้ารอพบทุกท่านที่จุกนัดพบ รับของ แจกแท็กกระเป๋า ทานอาหารเช้าบนเครื่อง (กระบวนการและเอกสารการเข้าตม.แจ้งอย่างละเอียดในกลุ่มไลน์ค่ะ)

 10.35น.

ถึงกรุงนิวเดลี ผ่านตม. รับกระเป๋าและไปเช็คอินสายการบิน Indigo ไฟลท์ 6e5603

อาหารกลางวันอิสระในสนามบินค่ะ

 16.45น.   ออกเดินทางสู่ออรังกบาดด้วยสายการบิน Indigo
 18.30น.

ถึงออรังกบาด รับกระเป๋าและออกเดินทางไปยังที่พัก ทานอาหารเย็น พักผ่อนเตรียมชุดสวยๆไปถ้ำอชันต้าพรุ่งนี้ค่ะ

วันนี้เดินทางทั้งวันแต่เราอยู่ในสนามบินเย็นๆ มีน้ำ มีขนม มีกาแฟ สนามบินมีที่งีบหลับ มีที่ชาตแบต มีเวลาต่อเครื่องสบายๆไม่ต้องเร่งร้อนเดินเล่นดูของในดิวตี้ฟรีและไม่ต้องนั่งรถไกลค่ะ แค่ในสนามบินเราก็จะเห็นความแตกต่างของประเทศอินเดียระหว่างโซนเมืองใหญ่และโซนสังเวชนียสถานกันบ้างแล้วค่ะ

ที่พัก Hotel 7 apples

 

 วันที่ 2 : 25 ตุลาคม 2567 :  ถ้ำอชันต้าเต็มวัน   

ช่วงเช้า

วันนี้อุทิศให้ถ้ำอชันต้าค่ะ ทานอาหารเช้าและออกเดินทางกัน เตรียมหมวก ร่ม กระบอกน้ำให้พร้อม ถ้ำอชันต้าห่างจากเมืองออรังกบาดไปประมาณ 3 ชม. 

กลุ่มวัดถ้ำอชันต้าเป็นวัดถ้ำเก่าแก่ที่สวยงามที่สุดในแถบอินเดีย ถูกสร้างขึ้นโดยการขุดเจาะภูเขาลงไปเป็นวัด สถานที่สวดมนต์ ประกอบพิธีสงฆ์ และวิหารสถานที่จำวัดของพระสงฆ์ในสมัยนั้น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปีค.ศ.1983 ประกอบไปด้วยถ้ำ 28 ถ้ำ มีอายุกว่า 2,000 ปีสร้างขึ้นโดยประมาณ พ.ศ.700-1300 ก่อนถูกทิ้งร้าง และถูกค้นพบโดยบังเอิญโดยคณะล่าสัตว์ชาวอังกฤษ ถ้ำอชันต้า เป็นต้นแบบการขุดเจาะภูเขาเป็นศาสนสถาน โดยมีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมและภาพเขียนสีผนังสมัยโบราณ ซึ่งภาพวาดเหล่านั้นล้วนเป็นเรื่องราวเกี่ยวพุทธประวัติและพระโพธิ์สัตว์ของมหายาน เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าพุทธศาสนาตั้งมั่นอยู่บริเวณแถบนี้มาก่อนเมืองออรังกาบาดจะถูกปกครองโดยศาสนาอิสลาม นำโดยราชวงศ์โมกุล

เราจะใช้เวลาที่นี่เต็มที่ในการเดินชมภาพเขียนและสถาปัตยกรรมซุ้มประตูที่แกะสลักด้วยมือคนเป็นๆสวยๆกันตามสบาย ค่อยๆเดินค่ะ ไม่รีบ

ช่วงเที่ยงทานอาหารกลางวัน ณ ร้านอาหารใกล้ๆถ้ำและเดินทางกลับสู่เมืองออรังกาบาด ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชม.

ช่วงเย็นกลับมาจากถ้ำแล้ว หากไม่เหนื่อยกัน สามารถไปเดินเล่นที่ห้างใกล้ๆที่พักได้ เดินดูย่านที่อยู่อาศัยของคนอินเดียในรัฐนี้ได้ เป็นข้อมูลในใจไปเปรียบเทียบกับสภาพความเป็นอยู่ของคนที่รัฐพิหาร ในเส้นทางสังเวชนียสถานค่ะ

ช่วงเย็น ทานอาหารเย็นและพักผ่อน ณ โรงแรม 7 apples

 

 วันที่ 3 : 26 ตุลาคม 2567 :  ถ้ำเอลโลร่า 

 

ช่วงเช้า

ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่กลุ่มวัดถ้ำเอลโลร่า

กลุ่มถ้ำเอลโลร่าได้ต้นแบบมาจากกลุ่มถ้ำอชันต้า ประกอบไปด้วยถ้ำของ 3 ศาสนาคือพุทธ ฮินดูและเชนเมื่อได้ต้นแบบมาจากอชันต้า ลักษณะองค์ประกอบของถ้ำจึงเป็นส่วนของวัดและที่พักของพระสงฆ์ กลุ่มถ้ำของพุทธจะอยู่จากถ้ำหมายเลข 1-12 ส่วนถัดมาจะเป็นวัดของฮินดูซึ่งสร้างขึ้นมาภายหลัง โดยมีถ้ำที่โดดเด่นมากคือถ้ำที่ 16 เขาไกรลาส เป็นลักษณะการเจาะภูเขาหินทั้งลูกลงไปเป็นวิหารในศาสนาฮินดู เราจะใช้เวลาที่นี่สบายๆไม่เร่งรีบค่ะ

ทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารที่โรงแรมไกรลาสใกล้ๆถ้ำเอลโลร่า 

ช่วงบ่าย

พาไปชมbibi maqbara หรือ Mini Taj Mahal เป็นสถานที่ฝังพระศพของพระราชินีราบิยะ อุด-ดูราณี (Rabia ud-Durani) ในจักรพรรดิ ออรังเซป สร้างเลียนแบบทัชมาฮาลแห่งอักรา 

The Mini Taj — Bibi Ka Maqbara

 

 วันที่ 4 : 27 ตุลาคม 2567 ออรังกบาด - ปัตนะ - ไวสาลี 

เช้า

 ทานอาหารเช้าและออกเดินทางไปสนามบิน
06.40น.

ออกเดินทางสู่มุมไบด้วยสายการบิน Air India ไฟลท์ Ai400 และต่อเครื่องด้วยสายการบินเดียวกันไฟลท์ Ai673 

13.20น.

ถึงปัตนะ เดินทางต่อไปยังไปเมืองไวสาลี เยี่ยมชมและกราบสักการะสถานที่ดังนี้

  • วัดป่ามหาวัน สถานที่พระนางมหาปชาบดีโคตมีขอบวช 
  • เสาอโศกต้นที่สมบรณ์ที่สุด

เสาอโศกนั้นเป็นจุดหมุดหมายสำคัญในการแสดงว่าสถานที่นี้คือสังเวชนียสถาน เสาอโศกสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ในราชวงศ์เมารยะ ช่วงยุคหลังพระพุทธเจ้าประมาณ 200-300 ปี

ท่านเป็นกษัตริย์ที่มีคุณูปการยิ่งใหญ่ในพุทธศาสนาของเรา ในเส้นทางสังเวชนียสถาน เสาอโศกที่ไวสาลีเป็นต้นที่สมบูรณ์ที่สุด แต่เราจะไปเห็นหัวเสา แค่หัวเสาที่สมบูรณ์ที่สารนาถ พาราณสีกันค่ะ

ทานอาหารเย็นและพักผ่อนที่โรงแรม Blue Lotus

   

ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน

กุสินาราในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเล็กในแคว้นมัลละ แต่สมัยดั้งเดิมก่อนยุคพุทธกาลเป็นเมืองใหญ่มากชื่อเมืองกุสาวดี ปกครองโดยพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ยิ่งใหญ่มากในช่วงนั้น ของวิเศษใดๆที่หาได้เป็นของพระเจ้ามหาสุทัสสนะหมด ซึ่งพระเจ้ามหาสุทัสสนะก็คือชาติภพก่อนๆของพระพุทธเจ้าและท่านก็กลับมาปรินิพพานที่กุสินาราแห่งนี้

ไวสาลี ชื่อเดิมก็คือไวสาลี ที่แห่งนี้คือต้นกำเนิดระบอบประชาธิปไตยแห่งแรกของโลก ไวสาลีเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชี พระเจ้าอชาตศัตรูอยากได้วัชชีมานานมาก แต่ด้วยหลักธรรมและหลักการปกครองของเจ้าลิจฉวี (ชื่อของชนชั้นปกครองของวัชชี) จึงทำให้ตีไม่ได้เสียที จนพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า พระเจ้าอชาตศัตรูส่งวัสสการพรามณ์ไปถามความเมือง จริงๆพระพุทธเจ้าไม่ได้แนะแต่ระดับที่ปรึกษากษัตริย์แค่นั่งฟังก็ได้ไอเดียจึงออกอุบายกับพระเจ้าอชาติศัตรูสุดท้าย วัชชีก็ตกเป็นของแคว้นมคธหลังจากพุทธปรินิพพาน

สถูปปรินิพพาน ทัวร์สังเวชนียสถาน 9-18พย.2565 มกุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิง ทัวร์สังเวชนียสถาน 9-18พย. 2565 เสาอโศก ณ วัดป่ามหาวัน ไวสาลี ทัวร์สังเวชนียสถาน 9-18พย.2565

 

วันที่ 5 : 28 ตุลาคม 2567 :   ไวสาลี - กุสินารา

เช้า

 ทานอาหารเช้าและออกเดินทางไปยังกุสินารา
บ่าย

ระหว่างทางแวะชมมหาสถูปเกสรียา สถูปต้นแบบของบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน

หลังจากนั้นเดินทางต่อสู่เมืองเกสรียา แวะชมมหาสถูปเกสรียา สถูปต้นแบบของบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันและเดินทางต่อสู่กุสินารา 

  • กราบสักการะมหาปรินิพพานสถูปสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
  • กุฏพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ช่วงเย็น เข้าทานอาหารและพักผ่อน ณ โรงแรม Om Residency

  

วันที่ 6 : 29 ตุลาคม 2567 : กุสินารา - ลุมพินี

ช่วงเช้า

ทานอาหารเช้าที่โรงแรมและออกเดินทางสู่ด่านชายแดนอินเดีย เนปาล เสาโนรี ก่อนจะข้ามด่านแวะพักทานโรตีและเข้าห้องน้ำก่อนข้ามด่านที่วัดไทยนวราชย์รัตนาราม 960 

ผ่านกระบวนการตรวจคนออกเมืองกันก่อนแล้วเดินทางไปสู่จุดหมายของเรา

  • สังเวชนียสถานแห่งที่ 3 ลุมพินี สถานที่ประสูติ 
ช่วงเย็น ทานอาหารเย็น พักผ่อนที่โรงแรม 5 elements

 

 ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน

ลุมพินี ปัจจุบันอยู่ในเขตแดนของประเทศเนปาลแต่สมัยเดิมลุมพินีตั้งอยู่ในเขตแดนของอินเดียตั้งแต่สมัยอินเดียยังเป็นมหาชนบท (มหาชนบทแปลว่าเมืองเจริญ) ลุมพินีดั้งเดิมคือสถานที่บริเวณแคว้นสักกะบ้านเกิด บ้านพ่อของเจ้าชายสิทธัตถะ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะอยู่ในประเทศเนปาล เราก็จะมากราบกันค่ะ ราคาทัวร์รวมวีซ่าเนปาลแล้วค่ะ ลุมพินีไม่ใช่เมืองแต่เป็นสวนพักระหว่างเมือง ที่เจ้าชายสิทธัตถะมาประสูติที่ลุมพินีเพราะในสมัยพุทธกาลเป็นธรรมเนียมของหญิงที่จะเดินทางไปคลอดที่บ้านแม่ แต่พระนางสิริมหามายาไปไม่ทัน จึงทรงมีประสูติกาลที่สวนลุมพินี 

 

วัดไทย 960 แวะพักผ่อนก่อนข้ามด่าน เนปาล ในทัวร์สังเวชนียสถาน 9-18พย.2565 ลุมพินี เนปาล ทัวร์สังเวชนียสถาน 9-18พย.2565 ลุมพินี สถานที่ประสูติ ในทัวร์สังเวชนียสถาน 9-18พย.2565
วัดไทย 960 แวะพักผ่อนก่อนข้ามด่าน เนปาล ในทัวร์สังเวชนียสถาน 9-18พย.2565 พระพุทธเจ้าน้อยที่คนไทยคุ้นเคย มุมนี้ได้ถ่ายเดี่ยวทุกคนแน่นอนค่ะ วิหารมายาเทวี สร้างครอบสถานที่ประสูติ

 

วันที่ 7 : 30 ตุลาคม 2566 : ลุมพินี - สาวัตถี

ช่วงเช้า

ทานอาหารเช้าและออกเดินทางไปกลับอินเดีย ผ่านกระบวนการเข้าเมืองของอินเดียและแวะพักทานโรตีและเข้าห้องน้ำก่อนข้ามด่านที่วัดไทยนวราชย์รัตนาราม 960 กันอีกสักครั้ง เมื่อวานท่านใดยังไม่หนำใจกับ โรตีอารีดอย วันนี้มาแก้มือกันได้ค่ะ หลังจากนั้นเดินทางต่อสู่สาวัตถี มหานครคนดี สาวัตถีเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล สมัยพุทธกาลสาวัตถีจึงเป็นเมืองใหญ่มีคนมาศัยอยู่มากมาย

เจ้าครองแคว้นคือพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ซึ่งรักและศรัทธาในตัวพระพุทธเจ้ามาก จนอยากดองด้วยถึงขั้นส่งคนไปเจ้าหญิงจากแคว้นสักกะมาแต่งงาน จนสุดท้ายกลายเป็นโศกอนาฏกรรมล้างวงศ์วานของพระพุทธเจ้า

(หากอยากฟังต่อ จองทัวร์เลยค่ะ)ที่นี่เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา จึงตรัสสอนพระสูตรมากมายที่นี่ เราจะไปกราบสักการะสถานที่สำคัญเหล่านี้

  • วัดเชตวันมหาวิหาร ชาวพุทธคงคุ้นเคยกันดีกับผู้สร้างนั่นคืออนาถบิณฑิกเศรษฐี เราจะไปดู ไปสวดมนต์กันที่สถานที่จริงกันค่ะ
  • อานันทโพธิ์ ปลูกจากหน่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ตอนแรก เป็นต้นออริจินอลยืนต้นมาจวบจนปัจจุบัน
  • สถูปบ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี 
  • สถูปบ้านพ่อองคุลีมาล ใช่ค่ะ มหาโจรพันนิ้วก็มีบ้านเกิดอยู่ที่นี่
  • สถานที่พระเทวทัตโดนธรณีสูบ
ช่วงเย็น ทานอาหารเย็นและพักผ่อน Hotel Platinum

  ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน

สาวัตถี เป็นอีกเมืองที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน แต่เป็นอีกเมืองสำคัญของประวัติศาสตร์พุทธศาสนา สาวัตถีอย่างที่กล่าวไปว่าเป็นเมืองหลวงของแค้นโกศล ในสมัยพุทธกาลโกศลเป็นแคว้นใหญ่พอๆกับมคธและมีความเกี่ยวข้อง เกี่ยวดองกับพระพุทธเจ้า ด้วยความที่ทรงประทับที่นี่นานถึง 5 พรรษา จึงเกิดเหตุการณ์ เกิดพระสูตรมากมายที่นี่ ดังนั้นสาวัตถีจึงเป็นเมืองที่พลาดไม่ได้ รวมถึงวัดเชตวันที่เราจะพาไปกราบสักการะ เป็นอีกวัดใหญ่ วัดดังเดิมในพุทธศาสนา การได้ไปกราบสักการะสักครั้งจึงเป็นโอกาสสำคัญของเรามากค่ะ

ทัวร์แสวงบุญ 2565 อานันทโพธิ์ ปลูกจากหน่อพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา
กุฏิพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ต้นอานันทโพธิ์ ปลูกจากหน่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นแรก 

 

วันที่ 8 : 31 ตุลาคม 2567  : สาวัตถี - พาราณสี

ช่วงเช้า

ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่เมืองพาราณสี แห่งแคว้นกาสีในสมัยพุทธกาล พาราณสีเป็นเมืองใหญ่ เมืองสำคัญที่ปัจจุบันก็ยังสำคัญอยู่

หลังจากตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ทรงพิจารณาถึงคนที่จะสอนได้ และเล็งเห็นว่าเหล่าปัญจวัคคีย์นี้ล่ะที่มีธุลีในตาน้อยพอจะเข้าใจธรรมที่ทรงค้นพบจึงเดินจากพุทธคยามาพาราณสี พบปัญจวัคคีย์และเทศน์สอนธรรมบทแรก ธัมจักรกัปปวัตรสูตร (เราจะสวดมนต์บทนี้กันที่สถานที่จริง หัดสวดไปได้เลยนะคะ)

  • ธัมเมกขสถูป สังเวชนียสถานแห่งที่ 4 สถานที่แสดงปฐมเทศนา
  • บริเวณโดยรอบป่าอิสิปตนมฤทายวัน
  • พิพิธภัณฑ์สารนาถ สถานที่เก็บรักษาหัวเสาอโศกที่สมบูรณ์และพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่สวยงามที่สุด

หลังจากนั้นพาท่านไปชมวิถีชีวิตชาวอินเดีย ที่ใช้ชีวิตแบบนี้มากว่า 4,000 ปี ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา

  • ล่องแม่น้ำคงคา ชมวิถี พิธัดั้งเดิมของคนอินเดีย 
ช่วงเย็น ทานอาหารเย็นและพักผ่อนที่โรงแรม Pinnacle 

 

ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน

 พาราณสี เป็นเมืองสำคัญของโลกในแง่สังคม วัฒนธรรม อารยธรรม ที่นี่ถูกกครองสลับกันไปมาระหว่างเจ้านครฮินดูและอิสลามจนถึงช่วงอังกฤษ แม่น้ำคงคาเป็นไฮไลท์ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ถึงแม้จะเป็น Top Destination ขาดนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่แค่ครั้งเดียว อยู่จำพรรษาเดียวคือช่วงเวลาหลังจากตรัสรู้และมาโปรดปัญจวัคคีย์ หลังจากนั้นไม่เสด็จมาที่นี่อีกเลยค่ะ

 

ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา สารนาถ พาราณสี ล่องเรือแม่น้ำคงคา ชมเมืองพาราณสี พิพิธภัณฑ์สารนาถ

 

วันที่ 9 : 1 พฤศจิกายน 2567  : พาราณสี - พุทธคยา

ช่วงเช้า-บ่าย

ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่พุทธคยา สถานที่สำคัญของเราย้อนเส้นทางการเดินทางของพระพุทธเจ้า ท่านเดินเท้าจากพุทธคยาไปพาราณสีแต่เรานั่งรถจากพาราณสีไปพุทธคยาระหว่างจะผ่านบริเวณป่าฝ้าย สถานที่พบภัทวัคคีย์ที่มาฮันนีมูนกับภรรยา แต่มีท่านหนึ่งยังไม่แต่งงานจึงจ้างนางโสเภณีมาเอนเตอร์เทน จนเกิดเรื่องราววุ่นวาย แต่สุดท้ายบรรลุธรรมกันหมด

เมื่อถึงพุทธคยาเราจะไปชมสถานที่สำคัญดังนี้ (สลับได้ตามเวลาและสถานการณ์หน้างาน)

  • สถานที่นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
  • สถานที่ลอยถาดอธิษฐานจิตว่าจะตรัสรู้
ช่วงเย็น ทานอาหารเย็น พักผ่อนที่วัดเนรัญชราวาส

 

วันที่ 10 : 2 พฤศจิกายน 2567  : พุทธคยาเต็มวัน

ช่วงเช้า

ทานอาหารเช้าที่วัดออกมาเยี่ยมชมสถานที่ดังนี้ 

  • สถูปบ้านนางสุชาดา

กลางวันกลับไปทานอาหารที่วัดเนรัญและทอดผ้าป่าบำรุงวัดและช่วงบ่าย ให้เวลาอิสระ ตารางสบายๆค่ะ

  • ให้เวลาอิสระสำหรับช้อปปิ้งของฝาก
  • ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ช่วงเย็น ทานอาหารเย็น และพักผ่อน ณ วัดเนรัญชราวาส

 

 

 

วันที่ 11 : 3 พฤศจิกายน 2567  : พุทธคยา - ราชคฤห์ นาลันทา - พุทธคยา

 

ช่วงเช้า

ทานอาหารเช้าและออกเดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญมากในชีวิตของพระพุทธเจ้า ราชคฤห์แห่งนี้เป็นเมืองแรกในแดนพุทธภูมิที่พุทธศาสนาตั้งมั่นโดยมีพุทธสาวกคนสำคัญคือพระเจ้าพิมพิสาร ปาวารณาตัวเป็นพุทธศาสนิกชน ในราชคฤห์จึงมีสถานที่มากมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพระพุทธเจ้าให้เราได้ศึกษาและกราบสักการะเช่น

  • วัดเวฬุวัน วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา
  • วัดและสถานพยาบาลของหมอชีวกโกมารภัฏ
  • ยอดเขาคิชกูช สถานที่ปลีกวิเวกของพระพุทธเจ้า ตรัสเทศน์หลายพระสูตรที่นี่และมีถ้ำอัครสาวกทั้งสอง และสถานที่พระสารีบุตรบรรลุธรรม
  • ตะโปทาราม สถานที่อาบน้ำสาธารณของคนอินเดียท้องถิ่น สถานที่นี้นอกจากจะเป็นสถานที่ท้องถิ่น แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวอินเดียแล้วยังแสดงธรรมได้ชัดเจนอีกด้วย

ทานกลางวันกันที่วัดไทยสิริราชคฤห์และเดินทางต่อไปที่นาลันทา เมืองใกล้ๆเพื่อไปกราบสักการะ

  • หลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกเผาทำลายจากกองทัพมุสลิมแต่เผาอย่างไรก็ไม่ไหม้ ท่านจึงขึ้นชื่อเรื่องการให้พรด้านสุขภาพ ไปขอพรท่านกันค่ะ
  • มหาวิทยาลัยนาลันทา ด้านในมีสถูปพระสารีบุตร สถานที่ท่านโปรดโยมแม่ก่อนนิพพาน

เรื่องราวเหล่านี้แค่เกริ่นๆค่ะ พอไปถึงสถานที่จริงๆได้ฟังวิทยากรกันเพลินหู ดูข้างทางกันเพลินตาแน่นอนค่ะ

ช่วงค่ำ ทานอาหารเย็นและเข้าที่พักที่วัดเนรัญชราวาส

 

 ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน

 

ราชคฤห์ไม่ได้เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน 4 ตำบลแห่งใดเลย แต่เป็นเมืองสำคัญมากในยุคพุทธกาลเพราะเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ 1 ในแคว้นมหาอำนาจในยุคนั้น ปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสารผู้ซึ่งเคยเจอเจ้าชายสิทธัตถะแล้วก่อนแล้วเมื่อครั้งทรงออกบวช ด้วยผิวพรรณ หน้าตา เมื่อมาถึงราชคฤห์ชาวบ้านก็ลืออื้ออึงกันถึงความงามจนพระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปพบพร้อมเสนอให้ออกจากเพศนักบวชแล้วมาช่วยกันปกครองแคว้นมคธ เจ้าชายสิทธัตถะทรงปฏิเสธไป พระเจ้าพิมพิสารจึทูลขอว่าหากทรงตรัสรู้ธรรมเมื่อใดให้มาโปรดท่านด้วย เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ก็ทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ทรงเสด็จกลับไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร และพุทธศาสนาก็ตั้งมั่นที่ราชคฤห์เป็นแห่งแรกในโลก นับจากนั้นเป็นต้นมา

 

วัดเวฬุวัน วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา เมืองราชคฤห์ หลวงพ่อองค์ดำ นาลันทา
วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา กุฏิพระพุทธเจ้าบนยอดเขาคิชกูช ราชคฤห์ หลวงพ่อองค์ดำ นาลันทา เตรียมน้ำมันมะพร้าวไปทาขอพรเรื่องสุขภาพค่ะ

 

วันที่ 12 : 4 พฤศจิกายน 2567  : พุทธคยา - กรุงเทพ 

 

ช่วงเช้า

ทานอาหารเช้าที่วัดและออกเดินทางมาสนามบินคยา เช็คอินสายการบิน Thai ไฟลท์ TG328 ใช้เวลาเดินทาง 2.40 ชม. 

14.00 น.

ออกเดินกลับไทย ทานอาหารเย็นบนเครื่องค่ะ

19.00 น.

เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิ เข้าไทยสบายๆ หากมีเอกสารต้องลงทะเบียน ฟ้าจัดการให้ก่อนล่วงหน้าค่ะ

ขอบคุณที่ร่วมเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้า ณ 4 สังเวชนียสถานมาด้วยกัน 

บุญได้ที่ได้ร่วมทำกันมาขอให้ส่งถึงทุกสมาชิกทุกท่าน สุขภาพกาย สุขภาพใจแข็งแรง รอไปเที่ยวด้วยกันใหม่รอบหน้านะคะ

 

 

หมายเหตุการจอง

เงินมัดจำจะนำไปจองตั๋วสายการบินตามไฟลท์ในกำหนดการ หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกหลังจากการจองตั๋วแล้ว เงื่อนไขการยกเลิกและการคืนเงินจะเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสายการบินค่ะ