ทัวร์แสวงบุญ 4 สังเวชนียสถาน 13-22 พฤศจิกายน 2567
ทัวร์แสวงบุญ อินเดีย สังเวชนียสถาน 4 ตำบล
13-22 พฤศจิกายน 2567
บินตรงคยา Air Asia น้ำหนัก 30 kg full service
พักโรงแรม 3ดาว + วัด ที่พักดี อาหารดี ไม่ลำบากค่ะ
1. สถานที่เยี่ยมชม : สังเวชนียสถาน 4 ตำบล+เมืองสำคัญตามเส้นทาง
- สังเวชนียสถานแห่งที่่ 1 สถานที่ตรัสรู้ : พุทธคยา
- สังเวชนียสถานแห่งที่ 2 สถานที่แสดงปฐมเทศนา : สารนาถ
- สังเวชนียสถานแห่งที่ 3 สถานที่ประสูติ : ลุมพินี
- สังเวชนียสถานแห่งที่ 4 สถานที่ปรินิพพาน : กุสินารา
- ราชคฤห์ เมืองแรกที่พุทธศาสนาตั้งมั่น สถานที่ตั้งวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา วันเวฬุวันมหาวิหาร
- นาลันทา สถานที่ตั้งอดีตมหาวิทยาลัยนาลันทาที่เคยยิ่งใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตรและกราบสักการะหลวงพ่อองค์ดำ
- ไวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี ที่ตั้งของวัดป่ามหาวัณ สถานที่พระน้านางมหาปชาบดีโคตมีออกบวช
- สาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล ที่ตั้งวัดเชตวันมหาวิหาร สถานที่ประทับนานที่สุด 25 พรรษา สถานที่เกิดพระสูตรมากมาย
2. การเดินทาง
- กรุงเทพ(ดอนเมือง) - พุทธคยา สายการบิน Air Asia ไฟลท์ fd122 ใช้เวลาเดินทาง 3 ชม.
- พุทธคยา - กรุงเทพ(ดอนเมือง) สายการบิน Air Asiaไฟลท์ fd123 ใช้เวลาเดินทาง 3 ชม.
- ภายในอินเดียใช้รถบัสส่วนตัวตลอดเส้นทาง (ไม่ต้องเปลี่ยนรถ ของอะไรที่ใช้บนรถเช่นหมอน ผ้าห่ม ของฝากที่ยังไม่ได้แพ็คเอาไว้บนรถได้ ไม่ต้องเอาลงทุกวันค่ะ)
3. ที่พัก : วัดไทย+โรงแรม
- พุทธคยา พัก 2 คืน : วัดเนรัญชราวาส
- ไวสาลี : วัดไทยไวสาลี
- กุสินารา : Hotel Om International
- ลุมพินี : Hotel Five Elements
- สาวัตถี : วัดไทยสาวัตถี
- พาราณสี : Hotel Pinnacle หรือ Hotel Primeland
โรงแรมที่คัดเลือกมาเป็นโรงแรมที่คุ้นเคยกับการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เข้าใจทั้งวัฒนธรรมการกินของชาวต่างชาติเป็นอย่างดี อาหารเป็นอาหารจีน ไทยและอินเดียผสมผสานกัน รสชาตมาตรฐาน ทานได้แน่นอนค่ะ
4. อาหาร
วัดไทยทานอาหารไทยค่ะส่วนที่โรงแรม เป็นโรงแรมที่คุ้นเคยกับการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เข้าใจทั้งวัฒนธรรมการกินของชาวต่างชาติเป็นอย่างดี อาหารเป็นอาหารจีน ไทยและอินเดียผสมผสานกัน รสชาตมาตรฐาน ทานได้แน่นอนค่ะ ส่วนอาหารกลางวันเป็นข้าวกล่องแพ็คจากโรงแรมหรือวัดไทยบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากระหว่างเดินทางมีแต่ร้านอาหารท้องถิ่น อินเดียแท้ๆอาจทานลำบาก จึงแพ็คอาหารกล่องไปแล้วแวะทานระหว่างทาง บางเมืองมีวัดไทยระหว่างทางก็จะแวะพักทานอาหาร เข้าห้องน้ำกันค่ะ
5. ค่าใช้จ่าย
- ท่านละ 46,500 บาท (รวมทุกอย่างไม่มีการเก็บค่าทัวร์เพิ่มจุบจิบหน้างาน)
5.1 ราคารวม
- ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ ไฟลท์ที่ระบุในกำหนดการ
- ค่ารถบัสที่ใช้ในการเดินทางในอินเดีย
- ค่าที่พักทุกเมือง // ค่าอาหารทุกมื้อ
- ค่าเข้าชมสถานที่ทุกเมือง (พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน วัดตามเมืองต่างๆ)
- ค่าวีซ่า 2 ประเทศอินเดีย เนปาล
- ค่าประกันการเดินทางวงเงิน 1,000,000 บาท กรณีเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง (ไม่รวมประกันความเสียหายของสิ่งของและประกันสุขภาพ)
5.2 ราคาไม่รวม
- ค่าน้ำหนักกระเป่าเดินทางโหลดใต้ท้องเครื่องที่เกินกว่าที่ระบุในกำหนดการ
- ค่าทำพาสปอต ค่าเดินในประเทศไทยในวันเดินทางไปและกลับ
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เช่น ค่าของฝาก เงินทำบุญ ค่าซิมโทรศัพท์
- ค่าประกันทรัพย์สินเสียหายจากการเดินทาง
- ทิปคนขับ เด็กรถ ไกด์อินเดียตามความพึงพอใจค่ะ
หัวหน้าทัวร์ : คุณงาม
ผู้ช่วยหัวหน้าทัวร์ : คุณผึ้ง
พุทธคยา สังเวชนียสถาน : ตรัสรู้
ลุมพินี สังเวชนียสถาน : ประสูติ
สารนาถ สังเวชนียสถาน : แสดงปฐมเทศนา
กุสินารา สังเวชนียสถาน : ปรินิพพาน
โปรแกรมการเต็ม
วันที่ 1 : 13 พฤศจิกายน 2567 กรุงเทพ (ดอนเมือง)
04.30 น. พบกันที่สนามบินดอนเมือง อาคารผู้โดยสายขาออกระหว่างประเทศประตู 1 สายการบิน Air Asia
05.00 น. เช็คอินสายการบิน Air Asia ไฟลท์ fd122 เดินทางสู่สนามบินคยา ใ้ชเวลาเดินทาง 3.20 ชม. แต่อินเดียเวลาช้ากว่าไทย1.30 เราจะได้เวลากลับมา 1.30 ชม.ค่ะ
10.10 น. ถึงสนามบินคยา ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบิน
- เอกสารฟ้าจัดการเขียนให้ทั้งหมด ตอนคุณแอร์โอสเตสมาแจกรับเอกสารไว้แล้วนอนต่อได้เลยค่ะ
- ตม.อินเดียที่คยามีประมาณ 4-5 เคาเตอร์ น้อยมากและทำงานช้ามาก ค่อยๆเปิดเล่มพาสปอต ค่อยๆแสกน เราอาจใช้เวลาที่ขั้นตอนนี้สักพัก ถือเป็นการรับน้องด่านแรกนะคะ
ผ่านตม.มารับกระเป๋า แล้วเดินทางไปทานกลางวันกันที่วัดเนรัญชราวาส พักผ่อนให้หายเพลียจากการเดินทางแล้วออกไปกราบสักการะต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ สังเวชนียสถานแห่งที่ 1 กันค่ะ
ใช้เวลาสวดมนต์ทำวัตรเย็น เดินดูรอบๆและกลับมาทานอาหารเย็นพักผ่อนที่วัด เตรียมตัวเพื่อเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้าในวัดถัดไป
บริเวณเจดีย์พุทธคยา | พระพุทธเมตตา ประดิษฐานภายในเจดีย์พุทธคยา | ที่พัก วัดเนรัญชราวาส |
วันที่ 2 : 14 พฤศจิกายน 2567 : พุทธคยา - ราชคฤห์ - นาลันทา
ช่วงเช้า-บ่าย |
ทานอาหารเช้าที่วัดเนรัญชราวาสและออกเดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญมากในชีวิตของพระพุทธเจ้า ราชคฤห์แห่งนี้เป็นเมืองแรกในแดนพุทธภูมิที่พุทธศาสนาตั้งมั่นโดยมีพุทธสาวกคนสำคัญคือพระเจ้าพิมพิสาร ปาวารณาตัวเป็นพุทธศาสนิกชน ในราชคฤห์จึงมีสถานที่มากมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพระพุทธเจ้าให้เราได้ศึกษาและกราบสักการะเช่น
ทานกลางวันกันที่วัดไทยสิริราชคฤห์และเดินทางต่อไปที่นาลันทา เมืองใกล้ๆเพื่อไปกราบสักการะ
เรื่องราวเหล่านี้แค่เกริ่นๆค่ะ พอไปถึงสถานที่จริงๆได้ฟังวิทยากรกันเพลินหู ดูข้างทางกันเพลินตาแน่นอนค่ะ |
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็น พักผ่อนที่วัดไทยไวสาลี |
ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน
ราชคฤห์ไม่ได้เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน 4 ตำบลแห่งใดเลย แต่เป็นเมืองสำคัญมากในยุคพุทธกาลเพราะเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ 1 ในแคว้นมหาอำนาจในยุคนั้น ปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสารผู้ซึ่งเคยเจอเจ้าชายสิทธัตถะแล้วก่อนแล้วเมื่อครั้งทรงออกบวช ด้วยผิวพรรณ หน้าตา เมื่อมาถึงราชคฤห์ชาวบ้านก็ลืออื้ออึงกันถึงความงามจนพระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปพบพร้อมเสนอให้ออกจากเพศนักบวชแล้วมาช่วยกันปกครองแคว้นมคธ เจ้าชายสิทธัตถะทรงปฏิเสธไป พระเจ้าพิมพิสารจึทูลขอว่าหากทรงตรัสรู้ธรรมเมื่อใดให้มาโปรดท่านด้วย เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ก็ทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ทรงเสด็จกลับไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร และพุทธศาสนาก็ตั้งมั่นที่ราชคฤห์เป็นแห่งแรกในโลก นับจากนั้นเป็นต้นมา
วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา | กุฏิพระพุทธเจ้าบนยอดเขาคิชกูช ราชคฤห์ | หลวงพ่อองค์ดำ นาลันทา เตรียมน้ำมันมะพร้าวไปทาขอพรเรื่องสุขภาพค่ะ |
วันที่ 3 : 15 พฤศจิกายน 2567 : ไวสาลี - กุสินารา
|
ทานอาหารเช้าที่โรงแรม และออกเดินทางสู่เมืองกุสินารา ชื่อเดิมคือกุสาวดี วันนี้เราเดินทางไกลวันแรกโดยจะเดินทางผ่านสะพานที่ยาวที่สุดในอินเดีย สะพานมหาตมะคานธี เข้าสู่เมืองไวสาลี เมืองเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาลระหว่างทางแวะกราบสักการะ
เสาอโศกนั้นเป็นจุดหมุดหมายสำคัญในการแสดงว่าสถานที่นี้คือสังเวชนียสถาน เสาอโศกสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ในราชวงศ์เมารยะ ช่วงยุคหลังพระพุทธเจ้าประมาณ 200 ปี ท่านเป็นกษัตริย์ที่มีคุณูปการยิ่งใหญ่ในพุทธศาสนาของเรา ในเส้นทางสังเวชนียสถาน เสาอโศกที่ไวสาลีเป็นต้นที่สมบูรณ์ที่สุด แต่เราจะไปเห็นหัวเสา แค่หัวเสาที่สมบูรณ์ที่สารนาถ พาราณสีกันค่ะ หลังจากนั้นเดินทางต่อสู่เมืองเกสรียา แวะชมมหาสถูปเกสรียา สถูกต้นแบบของบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันและเดินทางต่อสู่กุสินารา
|
|
ช่วงค่ำ | ทานอาหารเย็นและเข้าที่พักที่โรงแรม Om International |
ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน
กุสินาราในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเล็กในแคว้นมัลละ แต่สมัยดั้งเดิมก่อนยุคพุทธกาลเป็นเมืองใหญ่มากชื่อเมืองกุสาวดี ปกครองโดยพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ยิ่งใหญ่มากในช่วงนั้น ของวิเศษใดๆที่หาได้เป็นของพระเจ้ามหาสุทัสสนะหมด ซึ่งพระเจ้ามหาสุทัสสนะก็คือชาติภพก่อนๆของพระพุทธเจ้าและท่านก็กลับมาปรินิพพานที่กุสินาราแห่งนี้
ไวสาลี ชื่อเดิมก็คือไวสาลี ที่แห่งนี้คือต้นกำเนิดระบอบประชาธิปไตยแห่งแรกของโลก ไวสาลีเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชี พระเจ้าอชาตศัตรูอยากได้วัชชีมานานมาก แต่ด้วยหลักธรรมและหลักการปกครองของเจ้าลิจฉวี (ชื่อของชนชั้นปกครองของวัชชี) จึงทำให้ตีไม่ได้เสียที จนพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า พระเจ้าอชาตศัตรูส่งวัสสการพรามณ์ไปถามความเมือง จริงๆพระพุทธเจ้าไม่ได้แนะแต่ระดับที่ปรึกษากษัตริย์แค่นั่งฟังก็ได้ไอเดียจึงออกอุบายกับพระเจ้าอชาติศัตรูสุดท้าย วัชชีก็ตกเป็นของแคว้นมคธหลังจากพุทธปรินิพพาน
มหาปรินิพพานสถูป สร้างครอบสถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน กุสินารา | มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมสรีระ กุสินารา | เสาอโศก ณ วัดป่ามหาวัน ไวสาลี สถานที่กำนดน้ำพระพุทธมนต์และภิกษุณี |
วันที่ 4 : 16 พฤศจิกายน 2567 : กุสินารา - ลุมพินี
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าที่โรงแรมและออกเดินทางสู่ด่านชายแดนอินเดีย เนปาล เสาโนรี ก่อนจะข้ามด่านแวะพักทานโรตีและเข้าห้องน้ำก่อนข้ามด่านที่วัดไทยนวราชย์รัตนาราม 960 ผ่านกระบวนการตรวจคนออกเมืองกันก่อนแล้วเดินทางไปสู่จุดหมายของเรา
|
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็น พักผ่อนที่โรงแรม Five Elements |
ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน
ลุมพินี ปัจจุบันอยู่ในเขตแดนของประเทศเนปาลแต่สมัยเดิมลุมพินีตั้งอยู่ในเขตแดนของอินเดียตั้งแต่สมัยอินเดียยังเป็นมหาชนบท (มหาชนบทแปลว่าเมืองเจริญ) ลุมพินีดั้งเดิมคือสถานที่บริเวณแคว้นสักกะบ้านเกิด บ้านพ่อของเจ้าชายสิทธัตถะ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะอยู่ในประเทศเนปาล เราก็จะมากราบกันค่ะ ราคาทัวร์รวมวีซ่าเนปาลแล้วค่ะ ลุมพินีไม่ใช่เมืองแต่เป็นสวนพักระหว่างเมือง ที่เจ้าชายสิทธัตถะมาประสูติที่ลุมพินีเพราะในสมัยพุทธกาลเป็นธรรมเนียมของหญิงที่จะเดินทางไปคลอดที่บ้านแม่ แต่พระนางสิริมหามายาไปไม่ทัน จึงทรงมีประสูติกาลที่สวนลุมพินี
วัดไทย 960 แวะพักผ่อนก่อนข้ามด่าน เนปาล ในทัวร์สังเวชนียสถาน 9-18พย.2565 | พระพุทธเจ้าน้อยที่คนไทยคุ้นเคย มุมนี้ได้ถ่ายเดี่ยวทุกคนแน่นอนค่ะ | วิหารมายาเทวี สร้างครอบสถานที่ประสูติ |
วันที่ 5 : 17 พฤศจิกายน 2567 : ลุมพินี - สาวัตถี
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางไปกลับอินเดีย ผ่านกระบวนการเข้าเมืองของอินเดียและแวะพักทานโรตีและเข้าห้องน้ำก่อนข้ามด่านที่วัดไทยนวราชย์รัตนาราม 960 กันอีกสักครั้ง เป็นโอกาสที่ดีสำหรับท่านที่ติดใจโรตีอารีดอยของที่วัดค่ะ หลังจากนั้นเดินทางต่อสู่สาวัตถี มหานครคนดี สาวัตถีเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล สมัยพุทธกาลสาวัตถีจึงเป็นเมืองใหญ่มีคนมาศัยอยู่มากมาย เจ้าครองแคว้นคือพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ซึ่งรักและศรัทธาในตัวพระพุทธเจ้ามาก จนอยากดองด้วยถึงขั้นส่งคนไปเจ้าหญิงจากแคว้นสักกะมาแต่งงาน จนสุดท้ายกลายเป็นโศกอนาฏกรรมล้างวงศ์วานของพระพุทธเจ้า (หากอยากฟังต่อ จองทัวร์เลยค่ะ)ที่นี่เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา จึงตรัสสอนพระสูตรมากมายที่นี่ เราจะไปกราบสักการะสถานที่สำคัญเหล่านี้
|
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็นและพักผ่อน ณ วัดไทยสาวัตถี |
ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน
สาวัตถี เป็นอีกเมืองที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน แต่เป็นอีกเมืองสำคัญของประวัติศาสตร์พุทธศาสนา สาวัตถีอย่างที่กล่าวไปว่าเป็นเมืองหลวงของแค้นโกศล ในสมัยพุทธกาลโกศลเป็นแคว้นใหญ่พอๆกับมคธและมีความเกี่ยวข้อง เกี่ยวดองกับพระพุทธเจ้า ด้วยความที่ทรงประทับที่นี่นานถึง 5 พรรษา จึงเกิดเหตุการณ์ เกิดพระสูตรมากมายที่นี่ ดังนั้นสาวัตถีจึงเป็นเมืองที่พลาดไม่ได้ รวมถึงวัดเชตวันที่เราจะพาไปกราบสักการะ เป็นอีกวัดใหญ่ วัดดังเดิมในพุทธศาสนา การได้ไปกราบสักการะสักครั้งจึงเป็นโอกาสสำคัญของเรามากค่ะ
กุฏิพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร | ต้นอานันทโพธิ์ ปลูกจากหน่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นแรก |
วันที่ 6 : 18 พฤศจิกายน 2567 : สาวัตถี - พาราณสี
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่เมืองพาราณสี แห่งแคว้นกาสีในสมัยพุทธกาล พาราณสีเป็นเมืองใหญ่ เมืองสำคัญที่ปัจจุบันก็ยังสำคัญอยู่ หลังจากตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ทรงพิจารณาถึงคนที่จะสอนได้ และเล็งเห็นว่าเหล่าปัญจวัคคีย์นี้ล่ะที่มีธุลีในตาน้อยพอจะเข้าใจธรรมที่ทรงค้นพบจึงเดินจากพุทธคยามาพาราณสี พบปัญจวัคคีย์และเทศน์สอนธรรมบทแรก ธัมจักรกัปปวัตรสูตร (เราจะสวดมนต์บทนี้กันที่สถานที่จริง หัดสวดไปได้เลยนะคะ)
หลังจากนั้นพาท่านไปชมวิถีชีวิตชาวอินเดีย ที่ใช้ชีวิตแบบนี้มากว่า 4,000 ปี ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
|
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็นและพักผ่อนที่โรงแรม Primeland |
ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน
พาราณสี เป็นเมืองสำคัญของโลกในแง่สังคม วัฒนธรรม อารยธรรม ที่นี่ถูกกครองสลับกันไปมาระหว่างเจ้านครฮินดูและอิสลามจนถึงช่วงอังกฤษ แม่น้ำคงคาเป็นไฮไลท์ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ถึงแม้จะเป็น Top Destination ขาดนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่แค่ครั้งเดียว อยู่จำพรรษาเดียวคือช่วงเวลาหลังจากตรัสรู้และมาโปรดปัญจวัคคีย์ หลังจากนั้นไม่เสด็จมาที่นี่อีกเลยค่ะ
ธัมเมกขสถูป สถานที่แสงปฐมเทศนา | ล่องแม่น้ำคงคา ชมวิถีชีวิตของคนอินเดีย | พิพิธภัณฑ์สารนาถ เก็บรักษาพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามที่สุด |
วันที่ 7 : 19 พฤศจิกายน 2567 : พาราณสี - พุทธคยา
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่พุทธคยา สถานที่สำคัญของเราย้อนเส้นทางการเดินทางของพระพุทธเจ้า ท่านเดินเท้าจากพุทธคยาไปพาราณสีแต่เรานั่งรถจากพาราณสีไปพุทธคยาระหว่างจะผ่านบริเวณป่าฝ้าย สถานที่พบภัทวัคคีย์ที่มาฮันนีมูนกับภรรยา แต่มีท่านหนึ่งยังไม่แต่งงานจึงจ้างนางโสเภณีมาเอนเตอร์เทน จนเกิดเรื่องราววุ่นวาย แต่สุดท้ายบรรลุธรรมกันหมด |
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็น และพักผ่อน ณ วัดเนรัญชราวาส |
ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน
พุทธคยา ชื่อเดิมคืออุรุเวลาเสนานิคม ที่นี่นอกจากเป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้แล้ว ยังมีกลุ่มพระสงฆ์กลุ่มแรกๆที่ทรงมาโปรดนั่นคือเหล่านักบวชชลิล ชลิลคือนักบวชกลุ่มหนึ่งเน้นการบูชาไฟ หลังจากโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 แล้ว ทรงเดินกลับมาเพื่อมาสอนชลิลกลุ่มนี้ ทั้งที่ชลิลกลุ่มนี้อยู่ใกล้กว่าแต่กลับไม่สอนก่อน ใช้เวลาเดิน 11 วันไปที่พาราณสี เพื่อไปโปรดปัญจวัคคีย์แล้วค่อยกลับมาสอนชลิล นั่นแสดงว่าท่านต้องมีเหตุผลแน่นอน หากเราศึกษาพุทธประวัติในเชิงประจักษ์แนวนี้ เราจะเข้าใจการทำงาน วิธีการสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้นแน่นอนค่ะ
วันที่ 8 : 20 พฤศจิกายน 2567 : พุทธคยาเต็มวัน
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าที่วัดและเดินทางไปชมสถานที่สำคัญดังนี้ (สลับได้ตามเวลาและสถานการณ์หน้างาน)
กลางวันกลับไปทานอาหารที่วัดเนรัญและทอดผ้าป่าบำรุงวัดและช่วงบ่าย ตารางสบายๆค่ะ
|
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็น และพักผ่อน ณ วัดเนรัญชราวาส |
วันที่ 9 : 21 พฤศจิกายน 2567 : พุทธคยาเต็มวัน
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าที่วัดและเดินทางไปชมสถานที่สำคัญดังนี้ (สลับได้ตามเวลาและสถานการณ์หน้างาน)
กลางวันกลับไปทานอาหารที่วัดเนรัญและทอดผ้าป่าบำรุงวัดและช่วงบ่าย ตารางสบายๆค่ะ
|
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็น และพักผ่อน ณ วัดเนรัญชราวาส |
วันที่ 10 : 22 พฤศจิกายน 2567 : พุทธคยา - กรุงเทพ ดอนเมือง
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าที่วัดและออกเดินทางมาสนามบินคยา เช็คอินสายการบิน Air Asia ไฟลท์ fd123 ใช้เวลาเดินทาง 2.40 ชม. |
10.40 น. |
ออกเดินกลับไทย ทานอาหารกลางวันบนเครื่องค่ะ |
14.50 น. |
เดินทางถึงสนามบินคอนเมือง เข้าไทยสบายๆ หากมีเอกสารต้องลงทะเบียน ฟ้าจัดการให้ก่อนล่วงหน้าค่ะ ขอบคุณที่ร่วมเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้า ณ 4 สังเวชนียสถานมาด้วยกัน บุญได้ที่ได้ร่วมทำกันมาขอให้ส่งถึงทุกสมาชิกทุกท่าน สุขภาพกาย สุขภาพใจแข็งแรง รอไปเที่ยวด้วยกันใหม่รอบหน้านะคะ |
แห่ผ้าห่มถวายพระพุทธเมตตา | มีเวลาปฏิบัติใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ | ไปชมวัดนานาชาติบริเวณโดยรอบ |
มุมปฏิบัติอิสระ ณ เจดีย์พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ | สถูปบ้านนางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาส | ถวายผ้าป่าบำรุงวัดเนรัญชราวาส |
หมายเหตุ เกี่ยวกับการเดินทางและอาหาร
อินเดียเป็นประเทศที่สามารถมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้สูง ดังนั้นการแพลนโปรแกรมทุกรอบ ฟ้าจะเผื่อเวลาสำหรับสิ่งนี้ เช่นการวันแรกที่ต้องผ่านตม.ที่พุทธคยาคือเผื่อเวลาเอาไว้เลย ถ้าเข้าต้นโพธิ์ไม่ได้วันนี้ยังมีเวลามาเก็บวันอื่น และด้วยเหตุความไม่แน่นอนสูงนี้เอง โปรแกรมสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ตามเหตุปัจจัยได้ตลอดเวลาตามเงื่อนไขด้านความปลอดภัย และความเหมาะสม โดยยึดถือผลประโยชน์ของญาติธรรมเป็นหลักค่ะ ไม่มีการตัดสถานที่แน่นอน แต่อาจจะสลับก่อนหลัง เช้าเย็นประมาณนี้ค่ะ ฟ้าเข้าใจว่าทุกคนตั้งใจไป ดังนั้นจะพาไปให้ครบเพื่อให้สมความตั้งใจค่ะ
เรื่องอาหารการเดินทางตามเส้นทางสังเวชนียสถานเป็นการเดินทางในระยะทางพอสมควรและระหว่างทางไม่มีร้านอาหารตามแบบสากลที่เหมาะสมกับคนไทยเพราะเมืองสังเวชนียสถานตั้งอยู่ในเมืองต่างจังหวัด ความเจริญแบบที่เราคุ้นเคยกันหาแทบจะไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะลำบากอะไรขนาดนั้นค่ะ ในส่วนของการทานอาหารจึงมีความจำเป็นต้องทานอาหารแบบแพ็คกล่องจากวัดไทย(ในบางวัน)เพื่อความปลอดภัยด้านสุขลักษณะอนามัยของทุกคนค่ะ