ทัวร์อินเดีย 2 สังเวชนียสถาน พุทธคยา พาราณสี 11-15 ต.ค. 2568

ทัวร์แสวงบุญ สังเวชนียสถาน 2 ตำบล พุทธคยา พาราณสี

+ ราชคฤห์ นาลันทา 

บินภายใน ไปกลับคนละเมือง ไม่ต้องนั่งรถนาน

 

ดูทัวร์แสวงบุญสังเวชนียสถานแบบนั่งรถไม่นาน แนะนำรอบนี้ค่ะ

1. สถานที่เยี่ยมชม : สังเวชนียสถาน 2 ตำบล

  • สังเวชนียสถานแห่งที่ 1 สถานที่ตรัสรู้ : พุทธคยา
  • สังเวชนียสถานแห่งที่ 2 สถานที่แสดงปฐมเทศนา : สารนาถ
  • ราชคฤห์ เมืองแรกที่พุทธศาสนาตั้งมั่น สถานที่ตั้งวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา วันเวฬุวันมหาวิหาร 
  • นาลันทา สถานที่ตั้งอดีตมหาวิทยาลัยนาลันทาที่เคยยิ่งใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตรและกราบสักการะหลวงพ่อองค์ดำ 

 วัน+สถานที่เยี่ยมชม (โปรแกรมเต็มดูด้านล่างค่ะ)

1. 11 ต.ค.68 กรุงเทพ - พาราณสี สถานที่แสดงปฐมเทศนา ล่องแม่น้ำคงคา 
2. 12 ต.ค.68 พาราณสี - พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้
3. 13 ต.ค.68  พุทธคยา - ราชคฤห์ - นาลันทา เมืองแรกที่ศาสนาพุทธตั้งมั่น มีวัดแห่งแรกในอินเดีย หลวงพ่อองค์ดำนาลันทา
4. 14 ต.ค.68 พุทธคยา เต็มวัน เยี่ยมชมสถานที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้และสถานที่เสวยวิมุติสุขก่อนออกเดินไปโปรดปัญจวัคคีย์
5. 15 ต.ค.68  พุทธคยา - โกลกาต้า - กทม.

 

2. การเดินทาง 

  • กรุงเทพ - พาราณสี สายการบิน Indigo ไฟลท์ 6e1058+6e822 ใช้เวลาเดินทาง 3 ชม. ต่อเครื่อง 4 ชม.ที่โกลกาต้า บินไปลงพาราณสี
  • พุทธคยา - กรุงเทพ สายการบิน Indigo ไฟลท์ 6e6157 + 631057 ใช้เวลาเดินทาง 3 ชม. ต่อเครื่อง 4 ชม.ที่โกลกาต้า
  • ภายในอินเดียใช้รถบัสส่วนตัวตลอดเส้นทาง (ไม่ต้องเปลี่ยนรถ ของอะไรที่ใช้บนรถเช่นหมอน ผ้าห่ม ของฝากที่ยังไม่ได้แพ็คเอาไว้บนรถได้ ไม่ต้องเอาลงทุกวันค่ะ)
 

3. ที่พัก : วัด+โรงแรม

  • พาราณสี : Hotel Pinnacle หรือ Hotel Fern
  • พุทธคยา : วัดเนรัญชราวาส สร้างโดยหลวงพ่อถาวร จิตตวโร อดีตรองเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ดีกว่าหลายโรงแรมในพุทธคยา อาหารไทยดีมากค่ะ

โรงแรมที่คัดเลือกมาเป็นโรงแรมที่คุ้นเคยกับการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เข้าใจทั้งวัฒนธรรมการกินของชาวต่างชาติเป็นอย่างดีและมารยาทสากล อาหารเป็นอาหารจีน ไทยและอินเดียผสมผสานกัน รสชาตมาตรฐาน ทานได้แน่นอนค่ะ

หมายเหตุเรื่องห้องพัก 

โรงแรมพัก 2 วัดพักห้องละ 2-3 ท่านค่ะ ฟ้าเข้าใจว่าท่านใดมาด้วยกัน พี่น้อง สามีภรรยาก็อยากพักด้วยกัน เข้าใจจุดนี้มากๆค่ะ จะจัดให้พักด้วยกัน เพราะเคยได้ฟังลูกทัวร์เล่าให้ฟังว่าโดนจับแยกหญิงชายเด็ดขาดถึงแม้ว่าจะมาเป็นคู่ นี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมต้องเลือกที่พักอย่างละเอียดกว่าจะทำออกมาได้แต่ละทริปค่า 

4. อาหาร  

อาหารจีน ไทยและอินเดียผสมผสานกัน รสชาตมาตรฐาน ทานได้แน่นอนค่ะ ส่วนอาหารกลางวันเป็นข้าวกล่องแพ็คจากโรงแรมหรือวัดไทยบริเวณใกล้เคียง เนื่องจากระหว่างเดินทางมีแต่ร้านอาหารท้องถิ่น อินเดียแท้ๆอาจทานลำบาก จึงแพ็คอาหารกล่องไปแล้วแวะทานระหว่างทาง บางเมืองมีวัดไทยระหว่างทางก็จะแวะพักทานอาหาร เข้าห้องน้ำกันค่ะ

5. ราคา 

  • ท่านละ 44,500 บาท (All Inclusive ไม่ต้องจ่ายเพิ่มจุกจิก + ไม่มีการเก็บค่าทัวร์เพิ่มหน้างาน)

หลายท่านสงสัยว่าทำไมราคาสูง+ใช้เวลาหลายวัน คำตอบคือฟ้าเลือกทุกอย่างเองค่ะ รถ ที่พัก ไกด์และตารางเข้าแต่ละสถานที่ไม่อัด เดินทางระหว่างวัน ถึงเมืองก็เข้าสถูปไปกราบมีเวลาก็ใช้เวลากันในนั้นนานๆ อุตส่าห์บินมาตั้งไกลเนอะ ประกอบกับที่ใช้เวลาหลายวันคือวางวันไว้เผื่อแอคซิเดนท์ ถ้าเกิดอะไรขึ้นเรายังมีเวลาให้ขยับขยายได้บ้าง ถ้าไม่แอคซิเดนท์คือได้ไปที่แถมแน่นอน ไปสังเวชนียสถานฟ้าเชื่อว่าทุกคนตั้งใจไป ในเมื่อตั้งใจ อยากให้ไปทั้งที ไปดีๆให้สมความตั้งใจไปเลย ดีกว่ามานั่งเสียดายเงินค่ะ 

ลูกหลานที่เลือกทัวร์ให้สว.ที่บ้านไป ไม่ต้องกังวลใจนะคะ ดูแลให้อย่างดีค่ะ แต่อยากให้พาไปเองดีกว่า ลูกหลานพาคุณพ่อคุณแม่คุณย่าคุณยายไปทัวร์สังเวชนียสถาน มันดีต่อใจจริงๆค่ะ

5.1 ราคารวม 

  • ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ ไฟลท์ที่ระบุในกำหนดการ (น้ำหนัก 20 กก.)
  • ค่ารถบัสที่ใช้ในการเดินทางในอินเดีย ค่าเรือลงแม่น้ำคงคา
  • ค่าที่พักทุกเมือง // ค่าอาหารทุกมื้อ
  • ค่าเข้าชมสถานที่ทุกเมือง (พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน วัดตามเมืองต่างๆ)
  • ค่าวีซ่า 2 ประเทศอินเดีย เนปาล 
  • ค่าประกันการเดินทางวงเงิน 1,000,000 บาท กรณีเสียชีวิตระหว่างการเดินทางและการรักษาอาการอาหารเป็นพิษ 8,000 บาท (ไม่รวมประกันความเสียหายของสิ่งของและประกันสุขภาพ) 

5.2 ราคาไม่รวม 

  • ทิปเจ้าหน้าที่ทัวร์(คนขับรถ เด็กรถ ไกด์อินเดีย เจ้าหน้าที่ยกกระเป๋าของวัด+โรงแรม ตามความพึงพอใจค่ะ
  • ค่าน้ำหนักกระเป่าเดินทางโหลดใต้ท้องเครื่องที่เกินกว่าที่ระบุในกำหนดการ
  • ค่าทำพาสปอต ค่าเดินในประเทศไทยในวันเดินทางไปและกลับ
  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เช่น ค่าของฝาก เงินทำบุญ ค่าซิมโทรศัพท์
  • ค่าประกันทรัพย์สินเสียหายจากการเดินทาง 

โปรแกรมทัวร์เต็ม

วันที่ 0 : 10 ตุลาคม 2568 สนามบินสุวรรณภูมิ

22.00 น. พบกันที่สนามบินุสุวรรณภูมิ Row W สายการบิน Indigo 

23.00 น. เช็คอินสายการบินอินดิโก 

วันที่  1 : 11 ตุลาคม 2568 กรุงเทพ - พาราณสี

 02.40 น. ออกเดินทางสู่สนามบินโกลกาต้า 

03.50 น. ถึงสนามบินโกลกาต้า ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบิน

  • เอกสารฟ้าจัดการเขียนให้ทั้งหมด 
  • รอต่อเครื่องไปสนามบินพาราณสี 

09.25 น. ถึงสนามบินพาราณสี มารับกระเป๋า แล้วเดินทางไปทานอาหารกลางวันที่รร. พักผ่อนกันสักเล็กน้อยแล้วเดินทางไปกราบสักการะ

  • ธัมเมกขสถูป สังเวชนียสถานแห่งที่ 4 สถานที่แสดงปฐมเทศนา
  • บริเวณโดยรอบป่าอิสิปตนมฤทายวัน
  • พิพิธภัณฑ์สารนาถ สถานที่เก็บรักษาหัวเสาอโศกที่สมบูรณ์และพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่สวยงามที่สุด

หลังจากนั้นพาท่านไปชมวิถีชีวิตชาวอินเดีย ที่ใช้ชีวิตแบบนี้มากว่า 4,000 ปี ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา

  • ล่องแม่น้ำคงคา ชมวิถี พิธัดั้งเดิมของคนอินเดีย

ทานอาหารเย็นและพักผ่อนที่โรงแรมPinnacle หรือ Hotel Fern

วันที่  2 : 12 ตุลาคม 2568 พาราณสี - พุทธคยา

 

ช่วงเช้า

ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่พุทธคยา ช่วงกลางวันแวะทานอาหารกลางวัน ณ วัดไทยสะสาราม 

เมื่อถึงพุทธคยาแล้ว เข้ากราบสักการะ 

  • สถานที่ลอยถาดก่อนเดินไปปฏิบัติใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์จนตรัสรู้
  • สถูปบ้านนางสุชาดา
ช่วงเย็น ทานอาหารเย็นและพักผ่อน ณ วัดเนรัญชราวาส

 

ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน

 

 พาราณสี เป็นเมืองสำคัญของโลกในแง่สังคม วัฒนธรรม อารยธรรม ที่นี่ถูกกครองสลับกันไปมาระหว่างเจ้านครฮินดูและอิสลามจนถึงช่วงอังกฤษ แม่น้ำคงคาเป็นไฮไลท์ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ถึงแม้จะเป็น Top Destination ขาดนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่แค่ครั้งเดียว อยู่จำพรรษาเดียวคือช่วงเวลาหลังจากตรัสรู้และมาโปรดปัญจวัคคีย์ หลังจากนั้นไม่เสด็จมาที่นี่อีกเลยค่ะ

 

 วันที่  3 : 13 ตุลาคม 2568  พุทธคยา - ราชคฤห์ - นาลันทา 

 

ช่วงเช้า-บ่าย

ทานอาหารเช้าที่วัดเนรัญชราวาสและออกเดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญมากในชีวิตของพระพุทธเจ้า ราชคฤห์แห่งนี้เป็นเมืองแรกในแดนพุทธภูมิที่พุทธศาสนาตั้งมั่นโดยมีพุทธสาวกคนสำคัญคือพระเจ้าพิมพิสาร ปาวารณาตัวเป็นพุทธศาสนิกชน ในราชคฤห์จึงมีสถานที่มากมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพระพุทธเจ้าให้เราได้ศึกษาและกราบสักการะเช่น

  • วัดเวฬุวัน วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา
  • วัดและสถานพยาบาลของหมอชีวกโกมารภัฏ
  • ยอดเขาคิชกูช สถานที่ปลีกวิเวกของพระพุทธเจ้า ตรัสเทศน์หลายพระสูตรที่นี่และมีถ้ำอัครสาวกทั้งสอง และสถานที่พระสารีบุตรบรรลุธรรม ด้านบนมีสถานที่ย่อยต่างๆมากมาย ค่อยเดินขึ้นไปด้วยกันค่ะ
  • ตะโปทาราม สถานที่อาบน้ำสาธารณของคนอินเดียท้องถิ่น สถานที่นี้นอกจากจะเป็นสถานที่ท้องถิ่น แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวอินเดียแล้วยังแสดงธรรมได้ชัดเจนอีกด้วย

ทานกลางวันกันที่วัดไทยสิริราชคฤห์และเดินทางต่อไปที่นาลันทา เมืองใกล้ๆเพื่อไปกราบสักการะ

  • หลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกเผาทำลายจากกองทัพมุสลิมแต่เผาอย่างไรก็ไม่ไหม้ ท่านจึงขึ้นชื่อเรื่องการให้พรด้านสุขภาพ ไปขอพรท่านกันค่ะ
  • มหาวิทยาลัยนาลันทา ด้านในมีสถูปพระสารีบุตร สถานที่ท่านโปรดโยมแม่ก่อนนิพพาน
ช่วงเย็น ทานอาหารเย็น พักผ่อนที่วัดเนรัญชราวาส

 ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน

 ราชคฤห์ไม่ได้เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน 4 ตำบลแห่งใดเลย แต่เป็นเมืองสำคัญมากในยุคพุทธกาลเพราะเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ 1 ในแคว้นมหาอำนาจในยุคนั้น ปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าพิมพิสารเคยเจอเจ้าชายสิทธัตถะแล้วก่อนแล้วเมื่อครั้งทรงออกบวชและเดินมาจากกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ด้วยวรรณะ ผิวพรรณ หน้าตา เมื่อมาถึงราชคฤห์ชาวบ้านก็อื้ออึงกันถึงความงามจนพระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปพบพร้อมเสนอให้ออกจากเพศนักบวชแล้วมาช่วยกันปกครองแคว้นมคธ เจ้าชายสิทธัตถะทรงปฏิเสธไป พระเจ้าพิมพิสารจึทูลขอว่าหากทรงตรัสรู้ธรรมเมื่อใดให้มาโปรดท่านด้วย เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ก็ทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ทรงเสด็จกลับไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร และพุทธศาสนาก็ตั้งมั่นที่ราชคฤห์เป็นแห่งแรกในโลก นับจากนั้นเป็นต้นมา

"คณะพระสงฆ์กราบพระพุทธรูป ณ วัดเวฬุวัน ราชคฤห์" "พระและญาติโยม ถ่ายรูปหมู่ ณ เขาคิชกูช ราชคฤห์" "ทริปกราบสักการะสังเวชนียสถาน อชันต้า เอลโลร่า 2563"
วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา กุฏิพระพุทธเจ้าบนยอดเขาคิชกูช ราชคฤห์ หลวงพ่อองค์ดำ นาลันทา เตรียมน้ำมันมะพร้าวไปทาขอพรเรื่องสุขภาพค่ะ

 

 

 

ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา สารนาถ พาราณสี ล่องเรือแม่น้ำคงคา ชมเมืองพาราณสี พิพิธภัณฑ์สารนาถ
ธัมเมกขสถูป สถานที่แสงปฐมเทศนา ล่องแม่น้ำคงคา ชมวิถีชีวิตของคนอินเดีย พิพิธภัณฑ์สารนาถ เก็บรักษาพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่งดงามที่สุด

 

วันที่  4 : 14 ตุลาคม 2568 : พุทธคยา เต็มวัน 

ช่วงเช้า

ทานอาหารเช้าที่วัดและเข้ากราบสักการะ

  • ต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นวัชรอาสน์ สถานที่ตรัสรู้
  • มหาเจดีย์พุทธคยา
  • พระพุทธเมตตา 
  • สัตตมหาสถาน 7 สัปดาห์

กลางวันกลับไปทานอาหารที่วัดเนรัญและทอดผ้าป่าบำรุงวัดและช่วงบ่าย ตารางสบายๆค่ะ

  • ให้เวลาอิสระสำหรับช้อปปิ้งของฝาก หรือ ปฏิบัติธรรมตามอัธยาศัย ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ช่วงเย็น ทานอาหารเย็น และพักผ่อน ณ วัดเนรัญชราวาส

 

ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน

พุทธคยา ชื่อเดิมคืออุรุเวลาเสนานิคม ที่นี่นอกจากเป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้แล้ว ยังมีกลุ่มพระสงฆ์กลุ่มแรกๆที่ทรงมาโปรดนั่นคือเหล่านักบวชชลิล ชลิลคือนักบวชกลุ่มหนึ่งเน้นการบูชาไฟ หลังจากโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 แล้ว ทรงเดินกลับมาเพื่อมาสอนชลิลกลุ่มนี้ ทั้งที่ชลิลกลุ่มนี้อยู่ใกล้กว่าแต่กลับไม่สอนก่อน ใช้เวลาเดิน 11 วันไปที่พาราณสี เพื่อไปโปรดปัญจวัคคีย์แล้วค่อยกลับมาสอนชลิล นั่นแสดงว่าท่านต้องมีเหตุผลแน่นอน หากเราศึกษาพุทธประวัติในเชิงประจักษ์แนวนี้ เราจะเข้าใจการทำงาน วิธีการสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้นแน่นอนค่ะ

วันที่  5 : 15 ตุลาคม 2568 : พุทธคยา - กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ)

ช่วงเช้า ทานอาหารเช้าที่วัดและออกเดินทางมาสนามบินคยา เช็คอินสายการบิน Indigo ไฟลท์ fd123 ใช้เวลาเดินทาง 2.40 ชม. 
10.40 น.  ออกเดินกลับไทย ทานอาหารกลางวันบนเครื่องค่ะ
14.50 น.

เดินทางถึงสนามบินดอนเมือง เข้าไทยสบายๆ หากมีเอกสารต้องลงทะเบียน ฟ้าจัดการให้ก่อนล่วงหน้าค่ะ

ขอบคุณที่ร่วมเดินทางตามรอยพระพุทธเจ้า ณ 4 สังเวชนียสถานมาด้วยกัน 

บุญได้ที่ได้ร่วมทำกันมาขอให้ส่งถึงทุกสมาชิกทุกท่าน สุขภาพกาย สุขภาพใจแข็งแรง รอไปเที่ยวด้วยกันใหม่รอบหน้านะคะ

 

 หมายเหตุ เกี่ยวกับการเดินทางและอาหาร

ทุกคนคะ อินเดียเป็นประเทศที่สามารถมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้สูง ดังนั้นการแพลนโปรแกรมทุกรอบ ฟ้าจะเผื่อเวลาสำหรับสิ่งนี้ เช่นการวันแรกที่ต้องผ่านตม.ที่พุทธคยาคือเผื่อเวลาเอาไว้เลย ถ้าเข้าต้นโพธิ์ไม่ได้วันนี้ยังมีเวลามาเก็บวันอื่น และด้วยเหตุความไม่แน่นอนสูงนี้เอง โปรแกรมสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ตามเหตุปัจจัยได้ตลอดเวลาตามเงื่อนไขด้านความปลอดภัย และความเหมาะสม โดยยึดถือผลประโยชน์ของญาติธรรมเป็นหลักค่ะ ไม่มีการตัดสถานที่แน่นอน แต่อาจจะสลับก่อนหลัง เช้าเย็นประมาณนี้ค่ะ ฟ้าเข้าใจว่าทุกคนตั้งใจไป ดังนั้นจะพาไปให้ครบเพื่อให้สมความตั้งใจค่ะ

เรื่องอาหารการเดินทางตามเส้นทางสังเวชนียสถานเป็นการเดินทางในระยะทางพอสมควรและระหว่างทางไม่มีร้านอาหารตามแบบสากลที่เหมาะสมกับคนไทยเพราะเมืองสังเวชนียสถานตั้งอยู่ในเมืองต่างจังหวัด ความเจริญแบบที่เราคุ้นเคยกันหาแทบจะไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเลำบากอะไรขนาดนั้นค่ะ ในส่วนของการทานอาหารจึงมีความจำเป็นต้องทานอาหารแบบแพ็คกล่องจากวัดไทยเพื่อความปลอดภัยด้านสุขลักษณะอนามัยของทุกคนค่ะ