ไหว้พระพุทธคยา เที่ยวต่ออชันต้า เอลโลร่า มุมไบ 21-29 ตค.2566
ไหว้พระพุทธคยา กราบพระบรมสารีริกธาตุปัตนะ
อชันต้า เอลโลร่า มุมไบ
พาไปมูวัดพระพิฆเนศ สิทธิวินายัก
21-29 ตุลาคม 2566
อชันต้า เอลโลร่า เต็มอิ่ม
เดินเล่นชิวๆ ช้อปปิ้งเรื่อยๆย่าน Colaba Causeway
1. สถานที่เยี่ยมชม : พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ พระบรมสารีริกธาตุ ปัตนะ อชันต้า เอลโลร่า มุมไบ
สถานที่ตามโปรแกรมสรุป (โปรแกรมเต็มดูด้านล่างค่ะ)
21 ตค. 66 : กรุงเทพ - โกลกาต้า - พุทธคยา
22 ตค. 66 : พุทธคยา เต็มวัน
23 ตค. 66 : พุทธคยา - ราชคฤห์ - นาลันทา - ปัตนะ
24 ตค. 66 : ปัตนะ (สักการะพระบรมสารีริกธาตุ) - บินภายในต่อไปมุมไบ
25 ตค. 66 : มุมไบเต็มวัน วัดพระพิฆเนศเช้า บ่ายช้อปปิ้ง
26 ตค. 66: เดินทางไปออรังกบาด
27 ตค. 66 : ถ้ำอชันต้าเต็มวัน
28 ตค. 66 : ถ้ำเอลโลร่า + mini ทัชมาฮาล +เดินเล่นในเมืองออรังกบาด
29 ตค. 66 : เดินทางกลับไทย ออกไปสนามบินเช้า ต่อเครื่องประมาณ 4 ชม.ที่เดลี ถึงกรุงเทพค่ำๆค่ะ
2. การเดินทาง
2.1 ขาไป กรุงเทพ - โกลกาต้า - พุทธคยา
สายการบิน Indigo ไฟลท์ 6E 1058 02:40-03:45 + 6E 201 14:55-15:50
2.2. บินภายใน ปัตนะ มุมไบ
สายการบิน Air India ไฟลท์ AI 732 13:55-17:20
2.2 ขากลับ ออรังกบาด - กรุงเทพ
ออรังกบาด - เดลี Air India ไฟลท์ AI 444 07.40-09.25 ต่อเครื่อง 4 ชม.
เดลี - กรุงเทพ Air India ไฟลท์ AI 332 13.45-19.20
2.3 ภายในอินเดีย
ใช้รถบัสส่วนตัวตลอดเส้นทาง (ไม่ต้องเปลี่ยนรถ ของอะไรที่ใช้บนรถเช่นหมอน ผ้าห่ม ของฝากที่ยังไม่ได้แพ็คเอาไว้บนรถได้ ไม่ต้องเอาลงทุกวันค่ะ)
3. ที่พัก : โรงแรม
- มุมไบ : Hotel Suba Palace อยู่กลางเมืองมุมไบ ย่านColaba Causeway เดินเล่น ช้อปปิ้งสบายๆค่ะ
- ออรังกบาด : Hotel 7 apples
- พุทธคยา : วัดเนรัญชราวาส สร้างโดยหลวงพ่อถาวร จิตตวโร อดีตรองเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ดีกว่าหลายโรงแรมในพุทธคยา อาหารไทยดีมากค่ะ
โรงแรมที่คัดเลือกมาเป็นโรงแรมที่คุ้นเคยกับการให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เข้าใจทั้งวัฒนธรรมการกินของชาวต่างชาติเป็นอย่างดีและมารยาทสากล อาหารเป็นอาหารจีน ไทยและอินเดียผสมผสานกัน รสชาตมาตรฐาน ทานได้แน่นอนค่ะ
4. อาหาร
มุมไบ : พาไปทานร้านเก่าแก่แถวๆ Colaba Causeway ค่ะ
ออรังกบาด : ทานที่ร้านอาหารแถวๆถ้ำอชันต้า ของการท่องเที่ยวอินเดีย และถ้ำเอลโลร่า โรงแรมไกรลาส อยู่ห่างจากถ้ำ 10 ก้าวค่ะ และอาหารไทยที่วัดค่ะ
5. ราคา
ท่านละ 50,500 บาท (ไม่มีการเก็บค่าทัวร์จุบจิบเพิ่มหน้างาน)
5.1 ราคารวม
- ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับและบินภายใน ไฟลท์ตามกำหนดการ
- ค่ารถบัสที่ใช้ในการเดินทางในอินเดียทุกเมือง
- ค่าที่พักทุกเมือง // ค่าอาหารทุกมื้อ
- ค่าเข้าชมสถานที่ทุกเมือง (พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน วัดตามเมืองต่างๆ)
- ค่าวีซ่าอินเดีย e-visa 30 วัน
- ค่าประกันการเดินทางวงเงิน 1,000,000 บาท กรณีเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง (ไม่รวมประกันความเสียหายของสิ่งของและประกันสุขภาพ)
5.2 ราคาไม่รวม
- ค่าทิปเจ้าหน้าที่ทัวร์(คนขับรถ เด็กรถ ไกด์อินเดีย เจ้าหน้าที่ยกกระเป๋าของวัด ท่านละ 1000 บาท / ทั้งทริป
- ค่าน้ำหนักกระเป่าเดินทางโหลดใต้ท้องเครื่องที่เกินกว่าที่ระบุในกำหนดการ
- ค่าทำพาสปอต ค่าเดินในประเทศไทยในวันเดินทางไปและกลับ
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ เช่น ค่าของฝาก เงินทำบุญ ค่าซิมโทรศัพท์
- ค่าประกันทรัพย์สินเสียหายจากการเดินทาง
วันที่ 0 : 20 ตุลาคม 2566 กรุงเทพ สุวรรณภูมิ - โกลกาต้า
22.00 น. | พบกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ ประตู 2 เช็คอินสายการบิน Indigo ไฟลท์ 6e77 |
วันที่ 1 : 21 ตุลาคม 2566 : โกลกาต้า - พุทธคยา
02.40 น. |
ออกเดินทางสู่โกลกาต้า เมืองหลวงแห่งรัฐเบงกอลตะวันออก |
03.45 น. |
ถึงสนามบินโกลกาต้า ผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินเอกสารฟ้าจัดการเขียนให้ทั้งหมด นอนพักผ่อนบนเครื่องได้เลยค่ะ |
14.55 น. |
ต่อเครื่องสายการบินเดียวกันไปยังพุทธคยา ไกด์ท้องถิ่นมารอรับที่สนามบินคยา เดินทางไปวัดเนรัญชราวาส พักผ่อนรอคณะใหญ่มาสมทบและทานอาหารเย็นด้วยกันที่วัดเนรัญชราวาสค่ะ |
วันที่ 2 : 22 ตุลาคม 2566 : พุทธคยา
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าที่วัดออกมาเยี่ยมชมสถานที่ดังนี้
กลางวันกลับไปทานอาหารที่วัดเนรัญและทอดผ้าป่าบำรุงวัดและช่วงบ่าย ให้เวลาอิสระ ตารางสบายๆค่ะ
|
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็น และพักผ่อน ณ วัดเนรัญชราวาส |
วันที่ 3 : 23 ตุลาคม 2566 : พุทธคยา - ราชคฤห์ - นาลันทา - ปัตนะ
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าที่วัดเนรัญชราวาสและออกเดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ซึ่งเป็นเมืองสำคัญมากในชีวิตของพระพุทธเจ้า ราชคฤห์แห่งนี้เป็นเมืองแรกในแดนพุทธภูมิที่พุทธศาสนาตั้งมั่นโดยมีพุทธสาวกคนสำคัญคือพระเจ้าพิมพิสาร ปาวารณาตัวเป็นพุทธศาสนิกชน ในราชคฤห์จึงมีสถานที่มากมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพระพุทธเจ้าให้เราได้ศึกษาและกราบสักการะเช่น
ทานกลางวันกันที่วัดไทยสิริราชคฤห์และเดินทางต่อไปที่นาลันทา เมืองใกล้ๆเพื่อไปกราบสักการะ
เรื่องราวเหล่านี้แค่เกริ่นๆค่ะ พอไปถึงสถานที่จริงๆได้ฟังวิทยากรกันเพลินหู ดูข้างทางกันเพลินตาแน่นอนค่ะ |
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็น พักผ่อนที่โรงแรม Patliputra Continental |
ข้อมูลน่ารู้ตามเส้นทางสังเวชนียสถาน
ราชคฤห์ไม่ได้เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถาน 4 ตำบลแห่งใดเลย แต่เป็นเมืองสำคัญมากในยุคพุทธกาลเพราะเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ 1 ในแคว้นมหาอำนาจในยุคนั้น ปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าพิมพิสารเคยเจอเจ้าชายสิทธัตถะแล้วก่อนแล้วเมื่อครั้งทรงออกบวชและเดินมาจากกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ด้วยวรรณะ ผิวพรรณ หน้าตา เมื่อมาถึงราชคฤห์ชาวบ้านก็อื้ออึงกันถึงความงามจนพระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปพบพร้อมเสนอให้ออกจากเพศนักบวชแล้วมาช่วยกันปกครองแคว้นมคธ เจ้าชายสิทธัตถะทรงปฏิเสธไป พระเจ้าพิมพิสารจึทูลขอว่าหากทรงตรัสรู้ธรรมเมื่อใดให้มาโปรดท่านด้วย เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้ว ก็ทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ทรงเสด็จกลับไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร และพุทธศาสนาก็ตั้งมั่นที่ราชคฤห์เป็นแห่งแรกในโลก นับจากนั้นเป็นต้นมา
วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพุทธศาสนา | กุฏิพระพุทธเจ้าบนยอดเขาคิชกูช ราชคฤห์ | หลวงพ่อองค์ดำ นาลันทา เตรียมน้ำมันมะพร้าวไปทาขอพรเรื่องสุขภาพค่ะ |
วันที่ 4 : 24 ตุลาคม 2566 : ปัตนะ - สักการะพระบรมสารีริกธาตุ - มุมไบ
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าที่โรงแรมและออกเดินทางเพื่อไปกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ ปัตนะ หลังจากนั้นเดินทางไปสนามบินเพื่อเดินทางไปมุมไบด้วยสายการบินIndigo ไฟลท์ 6e2167 |
18.00 น. |
เดินทางถึงมุมไบ ทานอาหารเย็นที่โรงแรม Suba Palace โรงแรมอยู่ใจกลางย่าน Colaba Causeway สามารถออกมาเดินเล่น ช้อปปิ้งได้ตามสะดวกค่ะ |
วันที่ 5 : 25 ตุลาคม 2566 : มุมไบเต็มวัน
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าที่โรงแรมและเดินทางชมเมืองมุมไบ
ทานอาหารกลางวัน ณ ร้านอาหาร บ่าย เที่ยวชมย่านColaba Causeway ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวใจกลางเมืองมุมไบ ท่ามกลางตึกไสตล์อังกฤษที่เจ้าอาณานิคมมาสร้างไว้ต้อนรับข้าหลวงที่เดินทางมาจากเกาะอังกฤษ ย่านนี้จึงผสานกลิ่นอายของยุโรปและอินเดียเอาไว้ |
เย็น | ทานอาหารที่ร้านอาหารที่จองไว้ และเดินเล่นต่อตามสะดวกค่ะ |
วันที่ 6 : 26 ตุลาคม 2566 : มุมไบ - ออรังกบาด
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางสู่เมืองออรังกบาด วันนี้เดินทางทั้งวันค่ะ จะถึงออรังกบาดประมาณบ่าย-เย็น ทานอาหารกลางวันระหว่างทาง (แพ็คข้าวกล่องหรือแซนด์วิช Starbuck ค่ะ) |
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็นและพักผ่อน ณ โรงแรม 7 apples |
วันที่ 7 : 27 ตุลาคม 2566 : ถ้ำอชันต้า เต็มวัน
ช่วงเช้า |
วันนี้อุทิศให้ถ้ำอชันต้าค่ะ ทานอาหารเช้าและออกเดินทางกัน เตรียมหมวด ร่ม กระบอกน้ำให้พร้อม ถ้ำอชันต้าห่างจากเมืองออรังกบาดไปประมาณ 3 ชม. กลุ่มวัดถ้ำอชันต้าเป็นวัดถ้ำเก่าแก่ที่สวยงามที่สุดในแถบอินเดีย ถูกสร้างขึ้นโดยการขุดเจาะภูเขาลงไปเป็นวัด สถานที่สวดมนต์ ประกอบพิธีสงฆ์ และวิหารสถานที่จำวัดของพระสงฆ์ในสมัยนั้น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปีค.ศ.1983 ประกอบไปด้วยถ้ำ 28 ถ้ำ มีอายุกว่า 2,000 ปีสร้างขึ้นโดยประมาณ พ.ศ.700-1300 ก่อนถูกทิ้งร้าง และถูกค้นพบโดยบังเอิญโดยคณะล่าสัตว์ชาวอังกฤษ ถ้ำอชันต้า เป็นต้นแบบการขุดเจาะภูเขาเป็นศาสนสถาน โดยมีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมและภาพเขียนสีผนังสมัยโบราณ ซึ่งภาพวาดเหล่านั้นล้วนเป็นเรื่องราวเกี่ยวพุทธประวัติและพระโพธิ์สัตว์ของมหายาน เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าพุทธศาสนาตั้งมั่นอยู่บริเวณแถบนี้มาก่อนเมืองออรังกาบาดจะถูกปกครองโดยศาสนาอิสลาม นำโดยราชวงศ์โมกุล เราจะใช้เวลาที่นี่เต็มที่ในการเดินชมภาพเขียนและสถาปัตยกรรมซุ้มประตูที่แกะสลักด้วยมือคนเป็นๆสวยๆกันตามสบาย ค่อยๆเดินค่ะ ไม่รีบ ช่วงเที่ยงทานอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร และเดินทางกลับสู่เมืองออรังกาบาด ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชม. |
ช่วงเย็น | ทานอาหารเย็นและพักผ่อน ณ โรงแรม 7 apples |
วันที่ 8 : 28 ตุลาคม 2566 : ถ้ำเอลโลร่า
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าที่วัดและออกเดินทางสู่กลุ่มวัดถ้ำเอลโลร่า กลุ่มถ้ำเอลโลร่าได้ต้นแบบมาจากกลุ่มถ้ำอชันต้า ประกอบไปด้วยถ้ำของ 3 ศาสนาคือพุทธ ฮินดูและเชนเมื่อได้ต้นแบบมาจากอชันต้า ลักษณะองค์ประกอบของถ้ำจึงเป็นส่วนของวัดและที่พักของพระสงฆ์ กลุ่มถ้ำของพุทธจะอยู่จากถ้ำหมายเลข 1-12 ส่วนถัดมาจะเป็นวัดของฮินดูซึ่งสร้างขึ้นมาภายหลัง โดยมีถ้ำที่โดดเด่นมากคือถ้ำที่ 16 เขาไกรลาส เป็นลักษณะการเจาะภูเขาหินทั้งลูกลงไปเป็นวิหารในศาสนาฮินดู เราจะใช้เวลาที่นี่สบายๆไม่เร่งรีบค่ะ ทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารที่โรงแรมไกรลาสใกล้ๆถ้ำเอลโลร่า |
ช่วงบ่าย |
พาไปชมbibi maqbara หรือ Mini Taj Mahal เป็นสถานที่ฝังพระศพของพระราชินีราบิยะ อุด-ดูราณี (Rabia ud-Durani) ในจักรพรรดิ ออรังเซป สร้างเลียนแบบทัชมาฮาลแห่งอักรา |
วันที่ 9 : 29 ตุลาคม 2566 : ออรังกบาด - กรุงเทพ
ช่วงเช้า |
ทานอาหารเช้าและออกเดินทางไปยังสนามบินออรังกบาด เช็คอินสายการบิน Air India ไฟลท์ AI 444 07.40 ถึงนิวเดลีเวลา 09.25 เราไม่ต้องไปรับและดรอปกระเป๋าใหม่ค่ะ สามารถผ่านตม.เดินตัวปลิวไปหาอะไรทานในสนามบินอินทิรา คานธีได้เลย (อาหารกลางวันอิสระในสนามบินค่ะ) |
13.45น. | ขึ้นเครื่องสายการบินเดียวกันไฟลท์ AI 332 เสริฟอาหารบนเครื่อง ถึงสนามบินสุวรรณภูมิประเทศไทยเวลา 19.20น. คิดรอว่ารอบต่อไปจะไปเมืองไหนต่อกันดี และรอดูรูปสวยๆจากกลุ่มไลน์สมาชิกค่า |